วันอาทิตย์ที่ 28 สิงหาคม พ.ศ. 2559

อุกาบาต ดาวตก

อุกาบาต ดาวตก
อุกกาบาต (meteorite) คือ วัตถุขนาดเล็กในอวกาศที่ผ่านบรรยากาศลงมาถึงพื้นโลก ขณะอยู่ในอวกาศเรียกว่า "สะเก็ดดาว" ขณะเข้าสู่บรรยากาศเรียกว่า "ดาวตก". เราสามารถพบอุกกาบาตได้บนดาวเคราะห์ดวงอื่น เช่น ดาวอังคาร อุกกาบาตประกอบไปด้วยธาตุคาร์บอน  ปะปนอยู่ในอุกกาบาตบางชนิดเท่านั้น ซึ่งจะเป็นชนิดเหล็กและนิกเกิล
การที่ดาวหางโคจรเข้าใกล้ดวงอาทิตย์ ได้ทิ้งเศษฝุ่นและวัตถุขนาดเล็กตามแนวเส้นทางโคจร ในแต่ละปีโลกจะโคจรผ่านบริเวณดังกล่าว เมื่อเศษฝุ่นเหล่านี้ผ่านเข้ามาสู่ชั้นบรรยากาศชั้นบนของโลกจะถูกเสียดสีกับชั้นบรรยากาศทำให้เกิดความร้อนและเผาไหม้เศษวัตถุนั้นภายในเวลาเพียงไม่กี่วินาที ปรากฏให้เห็นเป็นเส้นสว่างสวยงามเป็นจำนวนมาก เราจึงเรียกว่า ฝนดาวตก” (Meteor shower)
วัตถุนอกโลก (meteoloid) มีโอกาสหลุดเข้ามาในชั้นบรรยากาศของโลกได้มากทีเดียว (meteor)   ส่วนใหญ่จะลุกไหม้เป็นไฟมีทางยาวที่เรียกกันว่าผีพุ่งไต้ (shooting star)มักจะลุกไหม้จนหมดก่อนถึงผิวโลกและพบว่ามีเปอร์เซนต์ถึงผิวโลกได้น้อย นับเป็นสิ่งที่ดีที่โลกของเรามีชั้นบรรยายคอยปกป้องวัตถุนอกโลก บนดวงจันทร์ ดาวอังคาร หรือดาวดวงอื่นๆที่ไม่มีชั้นบรรยากาศ พื้นผิวจะเป็นหลุมเป็นบ่อด้วยการกระแทกของอุกาบาตนี้ นอกจากนี้แล้ว อุกาบาตที่หล่นลงบนผิวโลก ส่วนใหญ่หล่นลงทะเล (พื้นที่น้ำทะเลประมาณ 2 ใน 3 ของพื้นผิวโลก) นอกจากนี้อาจตกลงในป่า หรือสถานที่อื่นใดที่ห่างไกลจากชุมชน   โอกาสที่มนุษย์จะได้เห็นอุกาบาตหล่นต่อหน้าต่อตาจึงถือว่าน้อย
อุกาบาตมี 4 ประเภทตามลักษณะองค์ประกอบ คือ
1. Iron - ประกอบด้วยเหล็กและนิเคิล
2. Stony iron - เป็นส่วนผสมระหว่างเหล็กและหิน
3. Chondrite - มีองค์ประกอบเหมือนชั้นแมนเทิลและเปลือกโลกบนพื้นทวีป
4. Carbonaceous chondrite - เหมือนองค์ประกอบของดวงอาทิตย์

5. Achondrite - มีองค์ประกอบคล้ายหินบะซอลท์ เชื่อว่ามีแหล่งกำเนิดมาจากดวงจันทร์
ดาวตก หรือผีพุ่งใต้ (Meteor) เป็นเพียงอุกกาบาต (Meteoroids) เศษวัตถุเล็ก ๆ หรือฝุ่นที่เกิดตามทางโคจรดาวหาง  เมื่อเศษวัตถุเหล่านี้ตกผ่านชั้นบรรยากาศโลก ก็จะถูกเสียดสีและเผาไหม้เกิดเป็นแสงให้เห็นในยามค่ำคืน ในบางครั้งวัตถุขนาดใหญ่สามารถลุกไหม้ผ่านชั้นบรรยากาศ และตกถึงพื้นโลกได้ เราเรียกว่า "ก้อนอุกกาบาต" (Meteorite)
              การที่ดาวหางโคจรเข้าใกล้ดวงอาทิตย์ ได้ทิ้งเศษฝุ่นและวัตถุขนาดเล็กตามแนวเส้นทางโคจร   ในแต่ละปีโลกจะโคจรผ่านบริเวณดังกล่าว    เมื่อเศษฝุ่นเหล่านี้ผ่านเข้ามาสู่ชั้นบรรยากาศชั้นบนของโลกจะถูกเสียดสีกับชั้นบรรยากาศทำให้เกิดความร้อนและเผาไหม้เศษวัตถุนั้นภายในเวลาเพียงไม่กี่วินาทีปรากฏให้เห็นเป็นเส้นสว่างสวยงามเป็นจำนวนมากเราจึงเรียกว่า ฝนดาวตก (Meteor shower)

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น