ดาวหาง
(Comet) เป็นวัตถุขนาดเล็กในระบบสุริยะประเภทหนึ่ง
ที่ประกอบไปด้วยสารประกอบระเหยง่าย (Volatile) ในสภาพเยือกแข็งและฝุ่น
เป็นเศษซากที่อุดมไปด้วยน้ำแข็งที่หลงเหลือจากการก่อตั้งของดาวเคราะห์ เมื่อประมาณ
4.5 พันล้านปีที่แล้ว
ที่ใจกลางของดาวหาง เรียกว่า “นิวเคลียส”
(Nucleus) ซึ่งจะไม่สามารถสังเกตเห็นได้
แม้จะสังเกตผ่านกล้องโทรทรรศน์ที่มีขนาดใหญ่ที่สุดก็ตาม
เนื่องจากดาวหางส่วนใหญ่อยู่ไกลจากดวงอาทิตย์และโลกมาก
อีกทั้งนิวเคลียสของดาวหางส่วนใหญ่แล้ว มักมีขนาดเพียงไม่กี่กิโลเมตร เมื่อดาวหางโคจรเข้ามายังระบบสุริยะชั้นใน
นิวเคลียสของดาวหางจะถูกห่อหุ้มด้วยชั้นที่มีรูปร่างคล้ายทรงกลมของก๊าซและฝุ่น
เรียกว่า “โคมา” (Coma) ชั้นโคมาได้รับฝุ่นและก๊าซ
จากการประทุเป็นลำเจ็ตที่พื้นผิวของนิวเคลียส
ซึ่งได้รับพลังงานจากการแผ่รังสีของดวงอาทิตย์
องค์ประกอบทางเคมีของชั้นโคมา
ส่วนใหญ่เป็น ไอน้ำและก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ แต่ก็มีคาร์บอน, ไฮโดรเจน และไนโตรเจนอยู่บ้าง ซึ่งชั้นโคมาของดาวหางบางดวงเมื่อได้รับแสงจากดวงอาทิตย์
ก็ปรากฏแสงเรืองสีเขียวของไซยาโนเจน (CN) และโมเลกุลของคาร์บอน
(C2) ปรากฏการณ์ดังกล่าว เรียกว่า “Resonant
Fluorescence” (กระบวนการเรืองแสงจากอะตอมหรือโมเลกุล
โดยแสงที่ปล่อยออกมาจะมีความยาวคลื่นเดียวกันกับแสงที่อะตอมหรือโมเลกุลดังกล่าวดูดกลืน)
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น