ระบบสุริยะ
ระบบสุริยะ
คือระบบดาวที่มีดาวฤกษ์เป็นศูนย์กลาง และมีดาวเคราะห์ (Planet)
เป็นบริวารโคจรอยู่โดยรอบ เมื่อสภาพแวดล้อมเอื้ออำนวย
ต่อการดำรงชีวิต สิ่งมีชีวิตก็จะเกิดขึ้นบนดาวเคราะห์เหล่านั้น หรือ
บริวารของดาวเคราะห์เองที่เรียกว่าดวงจันทร์ (Satellite) นักดาราศาสตร์เชื่อว่า
ในบรรดาดาวฤกษ์ทั้งหมดกว่าแสนล้านดวงในกาแลกซี่ทางช้างเผือก
ต้องมีระบบสุริยะที่เอื้ออำนวยชีวิตอย่างระบบสุริยะที่โลกของเรา เป็นบริวารอยู่อย่างแน่นอน
เพียงแต่ว่าระยะทางไกลมากเกินกว่าความสามารถในการติดต่อจะทำได้ถึง
ระบบสุริยะที่โลกของเราอยู่เป็นระบบที่ประกอบด้วย
ดวงอาทิตย์ (The sun) เป็นศูนย์กลาง มีดาวเคราะห์ (Planets)
9 ดวง ที่เราเรียกกันว่า ดาวนพเคราะห์ ( นพ แปลว่า เก้า)
เรียงตามลำดับจากในสุดคือ ดาวพุธ
ดาวศุกร์ โลก ดาวอังคาร
ดาวพฤหัส ดาวเสาร์ ดาวยูเรนัส
ดาวเนปจูน ดาวพลูโต
และยังมีดวงจันทร์บริวารของ ดวงเคราะห์แต่ละดวง (sattelites) ยกเว้นเพียงสองดวงคือ ดาวพุธ และ ดาวศุกร์ ที่ไม่มีบริวาร
นอกจากนี้ยังมีดาวเคราะห์น้อย (Minor planets) ดาวหาง (Comets)
อุกกาบาต (Meteorites) ตลอดจนกลุ่มฝุ่นและก๊าซ
ซึ่งเคลื่อนที่อยู่ในวงโคจรภายใต้อิทธิพลแรงดึงดูดจากดวงอาทิตย์ ขนาดของระบบสุริยะ
กว้างใหญ่ไพศาลมาก
เมื่อเทียบระยะทางระหว่างโลกกับดวงอาทิตย์ซึ่งมีระยะทางประมาณ 149 ล้านกิโลเมตร หรือ 1 หน่วยดาราศาสตร์ (astronomy
unit - au) กล่าวคือ
ระบบสุริยะมีระยะทางไกลไปจนถึงวงโคจรของดาวพลูโตดาวเคราะห์ที่มีขนาดเล็กที่สุดในระบบสุริยะ
ซึ่งอยู่ไกลเป็นระยะทาง 40 เท่าของ 1
หน่วยดาราศาสตร์ และยังไกลห่างออกไปอีกจนถึงดงดาวหางอ๊อต (Oort's Cloud) ซึ่งอาจอยู่ไกลถึง 500,000 เท่า
ของระยะทางจากโลกถึงดวงอาทิตย์ด้วย
ดวงอาทิตย์มีมวลมากกว่าร้อยละ
99 ของมวลทั้งหมดในระบบสุริยะ
ที่เหลือนอกนั้นจะเป็นมวลของเทหวัตถุต่างๆ ซึ่งประกอบด้วยดาวเคราะห์
ดาวเคราะห์น้อย ดาวหาง และอุกกาบาต รวมไปถึงฝุ่นและก๊าซ ที่ล่องลอยระหว่าง
ดาวเคราะห์แต่ละดวง โดยมีแรงดึงดูด (Gravity) เป็นแรงควบคุมระบบสุริยะให้เทหวัตถุบนฟ้าทั้งหมด
เคลื่อนที่เป็นไปตามกฎแรงโน้มถ่วงของนิวตัน ดวงอาทิตย์แพร่พลังงานออกมา
ด้วยอัตราประมาณ 90,000,000,000,000,000,000,000,000
แคลอรีต่อวินาที เป็นพลังงานที่เกิดจากปฏิกริยาเทอร์โมนิวเคลียร์ โดยการเปลี่ยนไฮโดรเจนเป็นฮีเลียม
ซึ่งเป็นแหล่งความร้อนให้กับดาว ดาวเคราะห์ต่างๆ
ถึงแม้ว่าดวงอาทิตย์จะเสียไฮโดรเจนไปถึง 4,000,000
ตันต่อวินาทีก็ตาม
แต่นักวิทยาศาสตร์ก็ยังมีความเชื่อว่าดวงอาทิตย์จะยังคงแพร่พลังงานออกมาในอัตราที่เท่ากันนี้ได้อีกนานหลายพันล้านปี
ชื่อของดาวเคราะห์ทั้ง 9 ดวงยกเว้นโลก
ถูกตั้งชื่อตามเทพของชาวกรีก เพราะเชื่อว่าเทพเหล่านั้นอยู่บนสรวงสวรรค์
และเคารพบูชาแต่โบราณกาล ในสมัยโบราณจะรู้จักดาวเคราะห์เพียง 5 ดวงเท่านั้น(ไม่นับโลกของเรา) เพราะสามารถเห็นได้ด้วยตาเปล่าคือ
ดาวพุธ ดาวศุกร์ ดาวอังคาร
ดาวพฤหัส ดาวเสาร์
ประกอบกับดวงอาทิตย์ และดวงจันทร์ รวมเป็น 7
ทำให้เกิดวันทั้ง 7 ในสัปดาห์นั่นเอง และดาวทั้ง 7 นี้จึงมีอิทธิกับดวงชะตาชีวิตของคนเรา ตามความเชื่อถือทางโหราศาสตร์
ส่วนดาวเคราะห์อีก 3 ดวงคือ ดาวยูเรนัส ดาวเนปจูน
ดาวพลูโต ถูกคนพบภายหลัง แต่นักดาราศาสตร์ก็ตั้งชื่อตามเทพของกรีก
เพื่อให้สอดคล้องกันนั่นเอง
ระบบสุริยะของเรามีขนาดใหญ่โตมากเมื่อเทียบกับโลกที่เราอาศัยอยู่
แต่มีขนาดเล็กเมื่อเทียบกับกาแล็กซีของเราหรือกาแล็กซีทางช้างเผือก
ระบบสุริยะตั้งอยู่ในบริเวณวงแขนของกาแล็กซีทางช้างเผือก (Milky
Way) ที่ชื่อแขนโอไลออน
ซึ่งเปรียบเสมือนวงล้อยักษ์ที่หมุนอยู่ในอวกาศ
โดยระบบสุริยะจะอยู่ห่างจากจุดศูนย์กลางของกาแล็กซีทางช้างเผือกประมาณ 30,000 ปีแสง ระนาบของระบบสุริยะเอียงทำมุมกับระนาบของกาแลกซี่ประมาณ 60 องศา ดวงอาทิตย์จะใช้เวลาประมาณ 225 ล้านปี ในการเคลื่อนครบรอบจุดศูนย์กลางของกาแล็กซีทางช้างเผือกครบ
1 รอบ นักดาราศาสตร์จึงมีความเห็นร่วมกันว่า
เทหวัตถุทั้งมวลในระบบสุริยะ ไม่ว่าจะเป็นดาวเคราะห์ทุกดวง ดวงจันทร์ของ
ดาวเคราะห์ ดาวเคราะห์น้อย ดาวหาง และอุกกาบาต เกิดขึ้นมาพร้อมๆกัน
มีอายุเท่ากันตามทฤษฎีจุดกำเนิดของระบบสุริยะ
และจากการนำเอาหินจากดวงจันทร์มาวิเคราะห์การสลายตัวของสารกัมมันตภาพรังสี
ทำให้ทราบว่าดวงจันทร์มีอายุประมาณ 4,600 ล้านปี
ในขณะเดียวกันนักธรณีวิทยาก็ได้คำนวณ หาอายุของหินบนผิวโลก
จากการสลายตัวของอะตอมธาตุยูเรเนียม และสารไอโซโทปของธาตุตะกั่ว ทำให้นักวิทยาศาสตร์เชื่อว่า
โลก ดวงจันทร์ อุกกาบาต มีอายุประมาณ 4,600 ล้านปี
และอายุของ ระบบสุริยะนับตั้งแต่เริ่มเกิดจากฝุ่นละอองก๊าซในอวกาศจึงมีอายุไม่เกิน
5,000 ล้านปี
ในบรรดาสมาชิกของระบบสุริยะซึ่งประกอบด้วย ดวงอาทิตย์ ดาวเคราะห์
ดาวเคราะห์น้อย ดวงจันทร์ ของดาวเคราะห์ดาวหาง อุกกาบาต สะเก็ดดาว
รวมทั้งฝุ่นละองก๊าซ อีกมากมาย นั้นดวงอาทิตย์และดาวเคราะห์ 9 ดวง จะได้รับความสนใจมากที่สุดจากนักดาราศาสตร์
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น